การผันวรรณยุกต์

การผันวรรณยุกต์
การผันวรรณยุกต์ หมายถึง การเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์ที่ประกอบด้วยพยัญชนะต้นกับสระ หรือพยัญชนะต้นกับสระ และตัวสะกดอย่างเดียวกันใส่รูปวรรณยุกต์ต่างกันตามที่ปรากฏเป็นพยางค์ในภาษาไทยได้ เช่น


ปา      ป่า      ป้า      ป๊า      ป๋า
กาง     ก่าง     ก้าง     ก๊าง     ก๋าง
ขา       ข่า       ข้า      
ขาว     ข่าว     ข้าว  ๋
เรือ      เรื่อ      เรื้อ
คาว     ค่าว     ค้าว               เป็นต้น
ในการผันวรรณยุกต์นั้นต้องเข้าใจว่า พยางค์ทุกพยางค์มีพื้นเสียงอยู่แล้ว คือ มีเสียงวรรณยุกต์อยู่โดยไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์ เช่น
ปา       มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ
ปัก       มีเสียงวรรณยุกต์เอก
ชาด     มีเสียงวรรณยุกต์โท
รัก       มีเสียงวรรณยุกต์ตรี
ขาว     มีเสียงวรรณยุกต์จัตวา
พยางค์จะผันวรรณยุกต์ใดได้ขึ้นอยู่กับหมู่อักษรของพยัญชนะต้น ลักษณะพยางค์ที่เป็นคําเป็นคำตายและสระสั้นหรือยาวของพยางค์ที่เป็นคำตายนั้น

 เสียงวรรณยุกต์และรูปวรรณยุกต์
วรรณยุกต์ประกอบด้วยเสียงวรรณยุกต์และรูปวรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์ หมายถึง ระดับสูงต่ำของเสียงที่ปรากฏในพยางค์หรือในคำและทำให้มี คำมีความหมายแตกต่างกัน เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมี ๕ เสียง  คือ   สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
รูปวรรณยุกต์มี ๔ รูป คือ  ่ รูปคือ  ่ (ไม้เอก),  ้ (ไม้โท),   ๊ (ไม้ตรี),   (ไม้จัตวา)
พยางค์จะผันวรรณยุกต์ใดได้ขึ้นอยู่กับ
๑. หมู่อักษรของพยัญชนะต้น (อักษรกลาง อักษรสูง อักษรต่ำ)
๒. ลักษณะพยานที่เป็น คําเป็น หรือคำตาย
๓. สระเสียงสั้นหรือเสียงยาวของพยางค์ที่เป็นคำตาย
๔. รูปวรรณยุกต์
คำเป็น หมายถึง เป็นพยางค์ที่ประสมกับสระเสียงยาวอยู่ในมาตรา แม่ก.กา และมีพยัญชนะที่มีตัวสะกดอยู่ในมาตราแม่กง กน กม เกอย เกอว (นมยวง)
คำตาย หมายถึง เป็นพยางค์ที่ประสมกับสระเสียงสั้นไม่มีตัวสะกดอยู่ในมาตราแม่ ก.กา และมีพยางค์ที่มีพยัญชนะสะกดอยู่ในแม่กก กด กบ (กบด)

การผันอักษรกลาง
          พยางค์ที่มีอักษรกลางเป็นพยัญชนะต้นและเป็นคำเป็นจะผ่านได้ทุกเสียง รูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์จะตรงกัน อักษรกลางคำเป็นจึงใช้เป็นคำเรียกเสียงวรรณยุกต์ได้
          อักษรกลางคำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ ๕ เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ใส่รูปวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงเอก ใส่รูปวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท ใส่รูปวรรณยุกต์ตรีเป็นเสียงตรี ใส่รูปวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า
          อักษรกลางคำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง ได้แก่ สามัญ โท ตรี จัตวา ใส่รูปวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท ใส่รูปวรรณยุกต์ตรีเป็นเสียงตรี ใส่รูปวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ
          หมายเหตุ โปรดสังเกตว่าอักษรกลางคำตายที่ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา ไม่มีคำใช้ในภาษาไทย
          
การผันอักษรสูง
          อักษรสูงคำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา  ผันได้ ๓ เสียง ได้แก่ เอก โท จัตวา ใส่รูปวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงเอก ใส่รูปวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น ขา ข่า ข้า
          อักษรสูงคำตาย พื้นเสียงเป้นเสียงเอก ผันได้ ๒ เสียง ได้แก่ เอก โท ใส่รูปวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น ผัด ผั้ด

การผันอักษรต่ำ
อักษรต่ำคำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ ๓ เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ใส่รูปวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท ใส่รูปวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า
อักษรต่ำคำตายสระเสียงสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันได้ ๓ เสียง ได้แก่ โท ตรี จัตวา ใส่รูปวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท ใส่รูปวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ
หมายเหตุ โปรดสังเกตว่า อักษรต่ำคำตายสระสั้น ที่ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาไม่มีคำใช้ในภาษาไทย
อักษรต่ำคำตายสระเสียงยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันได้ ๒ เสียง ได้แก่ โท ตรี ใส่รูปวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี เช่น วาก ว้าก
          หมายเหตุ โปรดสังเกตว่า อักษรต่ำคำตายสระเสียงยาวที่ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาไม่มีคำใช้ในภาษาไทย

การผันอักษรคู่และอักษรเดี่ยว

อักษรคู่
อักษรคู่คำเป็น ผันได้ ๓ เสียง คือ สามัญ โท ตรี(คา ค่า ค้า) อักษรสูงคำเป็น ผันได้ ๓ เสียง คือ สามัญ เอก โท (ขา ข่า ข้า) เมื่อรวมคู่กับอักษรสูงเข้าด้วยกันก็จะผันได้ครบ ๕ เสียง คือ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา เช่น  คา   ข่า   ค่า/ข้า  ค้า   ขา
อักษรคู่คำตาย ผันได้ ๒ เสียง คือ เอก โท (คะ ค่ะ) อักษรสูงคำตายผันได้ ๒ เสียง คือ โท ตรี  (ขะ ข้ะ) เมื่อรวมอักษรคู่กับอักษรสูงเข้าด้วยกันจะผันได้ ๔ เสียง ไม่มีเสียงสามัญ คือ เอก โท ตรี จัตวา เช่น ขะ   ค่ะ/ข้ะ   คะ

อักษรเดี่ยว
          อักษรเดี่ยวคำเป็น  ผันได้ ๓ เสียง คือ สามัญ โท ตรี เมื่อใช้ ห นำ จะทำให้ผันได้ครบ ๕ เสียง คือ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา เช่น นา  หน่า  น่า/หน้า  น้า  หนา
          อักษรเดี่ยวคำตายสระสั้น ผันได้ ๒ เสียง คือ โท ตรี ( น่ะ นะ) เมื่อใช้ ห นำจะทำให้ผันได้ ๓ เสียง คือ เอก โท ตรี เช่น หนะ  น่ะ/หน้ะ  นะ
          อักษรเดี่ยวคำตายสระสั้น ผันได้ ๒ เสียง คือ โท ตรี  (วาก ว้าก) เมื่อใช้ ห นำ จะทำให้ผันได้ ๓ เสียง คิอ เอก โท ตรี เช่น หนะ   น่ะ/หน้ะ   นะ
                   มี ๔ คำ ที่มีตัว ย เป็นพยัญชนะต้น กำหนดให้ใช้ อ นำ ออกเสียงได้เหมือนใช้ ห นำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก องค์ดำที่มีเสียงวรรณยุกต์เอก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การแต่งหน้าที่สร้างความมั่นใจ

การแต่งหน้า          เชื่อว่าหลายๆคน กำลังมีความรักสวยรักงาม  ไม่ว่าจะเพศไหน  เชื่อว่าจะต้องทำให้ตนเองเป็นจุดสนใจอย่างแน่นอน  เอาละ ไม่ว่...