การประกอบเสียงเข้าเป็นพยางค์และคำในภาษาไทย

เสียงในภาษาไทย

การประกอบเสียงเข้าเป็นพยางค์และคำในภาษาไทย

          พยางค์  หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้  โดยปกติจะต้องประกอบด้วยเสียงสระหรือเสียงอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายเสียงสระ ทำหน้าที่เป็นแกนของพยางค์  แต่ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยเสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ร่วมด้วย ดังตัวอย่าง


๑. ประเภทของพยางค์ในภาษาไทย

         พยางค์ในภาษาไทยมีลักษณะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของพยางค์ที่มาประกอบกันเป็นพยางค์นั้นๆ เพื่อให้เข้าใจลักษณะของพยางค์ได้ชัดเจน 
                           C (consonant)                      แทนเสียงพยัญชนะต้น ๑ เสียง หรือพยัญชนะต้นเดียว
                           CC                                           แทนเสียงพยัญชนะต้น ๒ เสียง หรือเสียงพยัญชนะต้นควบ
                           V (vowel)                              แทนเสียงสระเสียงสั้น
                           VV                                          แทนเสียงสระเสียงยาว และเสียงสระประสม(เ-ือ, -ัว, เ-ีย = เสือกลัวเมีย)
                           N (nasal or semi vowel)     แทนเสียงพยัญชนะท้ายที่เป็นเสียงพยัญชนะนาสิก (ม น ง) หรือเสียงพยัญชนะกึ่งสระ (ย ญ ว) ให้จำว่า นมยวง
                           S (stop)                                  แทนเสียงพยัญชนะท้ายที่เป็นเสียงระเบิด (ก บ ด) หรือเสียงพยัญชนะกักที่เส้นเสียง (อ) 
                          ๑ - ๕                                       แทนเสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ 
                                                                          ๑ แทนเสียงวรรณยุกต์สามัญ
                                                                          ๒ แทนเสียงวรรณยุกต์เอก
                                                                          ๓ แทนเสียงวรรณยุกต์โท
                                                                          ๔ แทนเสียงวรรณยุกต์ตรี
                                                                          ๕ แทนเสียงวรรณยุกต์จัตวา
๑. การแบ่งประเภทของพยางค์ตามโครงสร้าง
                ๑.๑ พยางค์เปิด คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยวหรือต้นควบก็ได้ เสียงสระเป็นสระเสียงยาว หรือเสียงสระประสม และเสียงวรรณยุกต์ มีโครงสร้างแบบ C (C) VV๑-๕  เช่น
                                                            C (C) VV๑            เช่น        ดู  วา  ครัว
                                                                        C (C) VV          เช่น        ด่า  สู่  เตร่
                                                                        C (C) VV          เช่น        ข้า  หญ้า  กล้า
                                                                        C (C) VV           เช่น        แพ้  เพลี้ย
                                                                        C (C) VV           เช่น        ขา  หมา
                ๑.๒ พยางค์ปิด  คือ  พยางค์ที่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยวหรือควบก็ได้  เสียงสระเป็นสระเสียงสั้น เสียงสระยาวหรือสระประสม เสียงวรรณยุกต์  เสียงพยัญชนะท้าย ซึ่งอาจเป็นเสียงพยัญชนะนาสิก  เสียงพยัญชนะกึ่งสระ  เสียงพยัญชนะระเบิด หรือเสียงพยัญชนะกักที่เส้นเสียงก็ได้ โดยมีโครงสร้างย่อยทั้งหมด ๔ แบบ ดังนี้
                                ๑.๒.๑  โครงสร้างพยางค์แบบ C (C) VN๑-๕  เช่น
                                                                        C (C) VN            คัน  ไกล
                                                                        C (C) VN           ขุ่น ต่ำ
                                                                        C (C) VN           สั้น  คลั่ง
                                                                        C (C) VN           ลุ้น  เป็น
                                                                        C (C) VN           เห็น  ขวัญ
                                ๑.๒.๒  โครงสร้างพยางค์แบบ C (C) VS๒-๔  เช่น
                                                            C (C) VS            สัตว์  หุบ
                                                                        C (C) VS            ค่ะ  ล่ะ
                                                                        C (C) VS            มิตร ศึก พรรค ครุฑ
                                ๑.๒.๓  โครงสร้างพยางค์แบบ C (C) VVN๑-๕ เช่น
                                                            C (C) VVN        บาน  เงย  คลาน
                                                                        C (C) VVN        ถ่าน  ข้าว  กล่อม
                                                                        C (C) VVN        โค่น  เฆี่ยน  เปรี้ยว
                                                                        C (C) VVN        ย้าย  น้อง  คล้อง
                                                                        C (C) VVN        ฝูง  หวาย  ผลาญ
                                ๑.๒.๔  โครงสร้างพยางค์แบบ C (C) VVS๒-๔  เช่น
                                                            C (C) VVS        หีบ  แหลก  ตราด
                                                                        C (C) VVS        ซาก  รูด  คราด
                                                                        C (C) VVS        ก๊าซ  เอี๊ยด 

๒. การแบ่งประเภทของพยางค์ตามการลงน้ำหนักเสียง
                การลงน้ำหนักเสียง (stress) คือ พยางค์ถูกเน้นโดยจะมีความยาว ดัง และออกเสียงนานกว่าพยางค์ที่ไม่ถูกเน้น  ทั้งนี้ ในการออกเสียงในมนุษย์  พยางค์แต่ละพยางค์จะถูกเน้นหรือลงน้ำหนักเสียงไม่เท่ากัน (อภิลักษณ์  ธรรมทวีธิกุล, ๒๕๔๗)  ดังนั้น  จึงจำแนกพยางค์ตามการลงน้ำหนักเสียงได้เป็น ๒ ประเภท  ดังนี้
                ๒.๑ พยางค์หนัก  คือ  พยางค์ที่ถูกเน้นในเวลาที่ออกเสียง  พยางค์ประเภทนี้มักปรากฏในโครงสร้างพยางค์ได้ทุกแบบที่ออกเสียงตาลำพัง เช่น
                                                C (C) VV๑-๕        กา  ปู  แตร  เรือ  เสีย
                                                C (C) VN๑-๕        ฉัน ขุม เต็ม
                                                C (C) VS๒-๔        หมัก  เป็ด  ปรับ
                                                C (C) VVN๑-๕     ตาม  แขน  นอน ตรวน
                                                C (C) VVS๒-๔     ขาด  แนบ  แปลก
                นอกจากนี้  พยางค์หนักมักปรากฏในพยางค์สุดท้ายของคำ  เช่น  กระเป๋า /กระ-เป๋า/  มะม่วง  /มะ- ม่วง/
                ๒.๒ พยางค์เบา  คือ  พยางค์ที่ไม่ถูกเน้นในเวลาที่ไม่ออกเสียง  พยางค์ประเภทนี้ทักปรากฏในโครงสร้างแบบ C (C) VS๒-๔  โดยเสียงพยัญชนะท้ายที่เป็นเสียงกักหยุดที่เส้นเสียงเท่านั้น ซึ่งพยางค์ดังกล่าวนี้จะปรากฏเป็นรองสุดท้าย เช่น ถนน /ถะ- หนน/  สตางค์ /สะ-ตาง/

๓. การแบ่งประเภทของพยางค์ตามไวยากรณ์ดั้งเดิม
                “กระนั้นก็ดี”  ในตำราไวยากรณ์ดั้งเดิม (พระยาอุปกิตศิลปสาร,๒๕๔๖)  ได้แบ่งประเภทของพยางค์ไว้เช่นเดียวกัน  แต่เรียกพยางค์ว่า “คำ”  และเกี่ยวเนื่องกับการผันเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย  โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภท  ดังนี้
                                ๓.๑ พยางค์ตาย หรือคำตาย  คือ พยางค์ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                                                ๑) พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะต้น  เสียงสระเสียงสั้น  และเสียงวรรณยุกต์ แต่ไม่มีเสียงพยัญชนะท้าย  เช่น ติ  ดุ  เตะ  โต๊ะ  เกาะ  เป็นต้น
                                                ๒) พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะต้น  เสียงสระ (จะเป็นเสียงสระเสียงสั้นหรือเสียงสระเสียงยาวก็ได้)  เสียงวรรณยุกต์  และเสียงพยัญชนะท้ายในมาตราแม่กก กด และกบ เช่น  ปัก  พรรค  มาด  กราบ  โลภ เป็นต้น
                                ๓.๒ พยางค์เป็น หรือคำเป็น  คือ  พยางค์ที่มีลักษณะใดลักษณะหนีงดังต่อไปนี้
                                                ๑) พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระเสียงยาว  และเสียงวรรณยุกตื แต่ไม่มีเสียงพยัญชนะท้าย  เช่น  กา  โต  แพร  หม้อ  เป็นต้น
                                                ๒) พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะต้น  เสียงสระ (จะเป็นเสียงสระเสียงสั้นหรือเสียงสระเสียงยาวก็ได้)  เสียงวรรณยุกต์  และเสียงพยัญชนะท้ายในมาตราแม่กน  กม  กง  เกย  และเกอว  เช่น  พันธุ์  ขม  กรรม  หลัง  ใจ  เอว  เป็นต้น

                พึงสังเกตเห็นว่า  พยางค์ตายหรือคำตายนั้น คือ พยางค์ที่เป็นพยางค์ปิด  มีโครงสร้างแบบ C (C) VS๒-๔  และ C (C) VVS๒-๔  ส่วนพยางค์เป็นหรือคำเป็น  คือ  พยางค์ที่เป็นทั้งพยางค์เปิดและพยางค์ปิด  โดยพยางค์ปิดจะมีโครงสร้างแบบ C (C) VN๑-๕  และ C (C) VVN๑-๕  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เห็นว่า  เสียงพยัญชนะท้ายมีผลทำให้เกิดเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน  


๒. จำนวนพยางค์ของคำในภาษาไทย

            คำแต่ละคำในภาษาไทยมีจำนวนพยางค์ที่แตกต่างกันไป  ทั้งนี้ อาจเนื่องจากคำที่มีมากพยางค์อยู่แล้ว  หรือเป็นคำยืมจากภาษาต่างประเทศ  แม้กระทั้งเกินจากการสร้างคำด้วย  การนำคำหลายคำมาประสมจนกลายเป็นคำหลายพยางค์  ดังนี้
                ๒.๑)  ๑ คำ ๑ พยางค์  คือ  คำที่มีหนึ่งพยางค์โดยมากมักเป็นคำพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น  พ่อ  แม่  พี่  ดิน  น้ำ  นก  หมา  เป็นต้น
                ๒.๒)  ๒ คำ ๒ พยางค์ คือ คำที่เกิดจากการรวมพยางค์ทั้งสองเข้าด้วยกัน  แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทย่อย  ดังนี้
                            ๒.๒.๑)  ๑ คำ ๒ พยางค์แท้  คือ  คำคำเดียวที่ไม่ได้เกิดจากการประสมคำ  เช่น  ตะวัน  ตะขาบ  มะม่วง  ขนม ถนน  กระทะ  ทะเล  เป็นต้น
                            ๒.๒.๒)  ๒ คำ ๒ พยางค์เทียม  คือ  คำที่เกิดจากการประสมคำพยางค์เดียวสองคำเข้าด้วยกัน  เช่น  พัดลม  กล้วยไม้  มดแดง  ทรัพย์สิน  เป็นต้น
                ๒.๒.๓)  ๓ คำ ๓ พยางค์  คือ  คำคำเดียวที่ไม่ได้เกิดจากการประสมคำ  หรือคำที่เกิดจากการประสมคำสองคำหรือสามคำก็ได้  เช่น  มะละกอ  นาฬิกา  กติกา  จราจร  สุริยา  สุคติ  ธุรกิจ  รูปธรรม  ไม้ขีดไฟ  เป็นต้น
                ๒.๒.๔)  ๔ คำ ๔ พยางค์  เช่น  โรงพยาบาล  รถไฟใต้ดิน พิพิธภัณฑ์  เสถียรภาพ เป็นต้น
                ๒.๒.๕)  ๕ คำ ๕ พยางค์  เช่น  สาธารณสุข  สวัสดิมงคล  โศกนาฏกรรม  เป็นต้น 
               ๒.๒.๖)  ๖ คำ ๖ พยางค์   เช่น  กรุงเทพมหานคร  รัฐวิสาหกิจ  สุริยุปราคา  เป็นต้น    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การแต่งหน้าที่สร้างความมั่นใจ

การแต่งหน้า          เชื่อว่าหลายๆคน กำลังมีความรักสวยรักงาม  ไม่ว่าจะเพศไหน  เชื่อว่าจะต้องทำให้ตนเองเป็นจุดสนใจอย่างแน่นอน  เอาละ ไม่ว่...